ขยะในสังคมไทย
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย
การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย มีอะไรบ้าง?
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
สาเหตุปัญหาขยะในเมืองไทย
ปัญหาขยะในเมืองไทย เป็นปัญหาโลกแตก เป็นเวลาหลายสิบปีที่เจ้าหน้าที่ทางราชการ หน่วยงานวิจัย สถาบันทางการศึกษา พยายามหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง ไม่มีที่ใดยอมให้ก่อสร้างโรงกำจัดขยะใกล้ที่อยู่อาศัยของตนเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆที่เสียงบประมาณตั้งมากมายพาเจ้าหน้าที่ไปดูงานที่ต่างประเทศ ใช้งบประมาณในการรณรงค์ให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ มีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถจะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ แต่ปัจจุบันยังไม่มีที่ไหนในประเทศไทย สามารถจัดการขยะได้อย่างครบวงจรเป็นที่พึงพอใจของคนทุกฝ่าย เพื่อให้ง่ายสรุปได้เป็นข้อๆดังนี้
1.ประชาชนยังยึดติดกับการแก้ไขปัญหาขยะแบบเดิมๆ สถานที่มีกลิ่นเหม็น สกปรกไม่น่าชวนมอง จนทำให้ไม่มีใครยอมที่จะให้มีการสร้างโรงกำจัดขยะในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตนเองอยู่อาศัย เนื่องจากว่าก็ยังไม่มีที่ใดในประเทศไทย มีระบบจัดการขยะที่ประสบความสำเร็จ สะอาด สถานที่น่าชวนมองอย่างที่ไปดูงานที่ต่างประเทศ
2.เทศบาลไม่มีแหล่งกำจัดขยะเนื่องจากสาเหตุข้อแรก เพราะไม่รู้ว่าจะชี้แจงยังไงให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจ จึงต้องนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ห่างไกล นอกพื้นที่ ในป่า สถานที่รกร้าง สร้างปัญหาให้กับชุมชนในพื้นที่นั้นๆตามมา
3.ทุกคนยังมองไม่เห็นคุณค่าของขยะเพราะว่ามีมูลค่าเล็กน้อย ไม่ทราบว่าขยะบางชนิดมีมูลค่า เมื่อแยกขยะแล้วจะไปขายที่ไหนหรือมีวิธีใดบ้างที่จะจัดการขยะได้โดยเปลี่ยนให้เป็นรายได้เข้ามา
4.เนื่องจากทางภาครัฐยังไม่มีสถานที่และวีธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาขยะ มีการกำจัดขยะที่สามารถรองรับการแยกขยะได้ จึงทำให้โครงการรณรงค์ให้ประชนคัดแยกขยะ ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพียงแค่ไฟไหม้ฟางในช่วงต้นๆ แต่เมื่อประชาชนคัดแยกขยะแล้วกลับไม่มีการเก็บขยะแบบแยก เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะเศษอาหารถูกเก็บนำไปปนกับขยะทั่วไปเช่นเดิม
5.การหาวิธีการจัดการขยะยังไม่ลงลึกเพียงพอในการแก้ไขปัญหาขยะตามสถุานที่อยู่อาศัยที่ต่างๆกัน บ้านเรือน ตลาดสด อาคารพาณิชย์ โรงเรียน อาคารสูงอย่างโรงแรมและคอนโดมิเนียม ชมชนชนบท บางที่สามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง บางที่ทำได้เพียงแยกขยะ ทำให้แต่ละที่จะต้องมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน เราสงเสริมให้ประชาชนทำปุ๋ยจากขยะ แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูง อาคารพาณิชย์ ไม่รู้ว่าจะเอาปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเพราะไม่ได้มีพื้นที่ปลูกพืช นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นอย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงการใช้วิธีจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสมกับสถานที่
6.เทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะ สามารถกำจัดขยะได้เฉพาะขยะแยกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำปุ๋ยหมักจากขยะ การทำก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร การนำขยะมาเผาเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่ขยะที่เข้าสู่กระบวนการกำจัดยังไม่ได้แยกอย่างสมบูรณ์ ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวประสบปัญหาในการดำเนินการ
7.การขัดผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ฝังกลบขยะ โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบกำจัดขยะจึงถูกระงับ ถูกต่อต้านจากชุมชนโดยมีผู้มีอิทธิผลที่เสียผลประโยชน์หนุนอยู่ภายหลัง
จากสาเหตุหลักๆเหล่นนี้ทำให้การแก้ไขปัญหาขยะ ยังคงไม่มีความคืบหน้าและก่อให้เกิดปัญหาหนักขึ้นทุกวัน ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน แนวทาง วิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ที่มีสถานที่แตกต่างกัน ใช้ลักษณะเด่นของแต่ละพื้นที่มาแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ อย่างเช่น
1.ในชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมือง มีพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เป็นชุมชนที่มีความต้องการปุ๋ยหมักจากขยะเพราะต้องใช้ในการเพาะปลูก การใช้ปุ๋ยหมักจากขยะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งน่าจะมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อทำโครงการปุ๋ยหมักจากขยะสด ขยะเศษผักเศษอาหาร เพื่อความยั่งยืนในการทำการเกษตร และเป็นการช่วยภาครัฐในการแก้ไขปัญหาขยะ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ
2.ในชุมชนเมืองใหญ่ มีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดสด ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตร เป็นแหล่งผลิตขยะที่สามารถย่อยสลายได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะที่ว่านี้เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการนำมาผลิตปุ๋ยหมักเนื่องจากมีการเจือปนของขยะชนิดอื่นเช่นพลาสติก กระดาษ ขวดแก้ว น้อย หากมีการทำข้อตกลงร่วมในการส่งขยะที่คัดแยกแต่เศษผักเศษอาหารให้กับกลุ่มเกษตรกร ก็จะสามารถทำขยะที่เคยเป็นปัญหา เป็นประโยชน์ขึ้นมาได้
3.การจัดพื้นที่ให้มีการรับซื้อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ประจำเดือนตามชุมชนต่างๆ โดยขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าของเก่า เริ่มต้นโดยการะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงราคาที่รับซื้อของขยะชนิดต่างๆ สถานที่รับซื้อ และวันเวลาที่จะมารับซื้อเป็นประจำ วีธีการนี้จะทำให้ผู้ค้าของเก่ามีผู้ใช้บริการมากขึ้น มีปริมาณขยะที่จะนำส่งโรงงานรีไซเคิลได้มากขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้นจากการแยกขยะและเก็บสะสมขยะเพื่อจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในภาวะที่ข้าวของทุกอย่างมีราคาแพง
4.บ้านที่อยู่อาศัย มีบริเวณบ้านที่เป็นสวน สามารถแยกขยะเศษอาหารกำจัดเองได้ โดยทำบ่อฝั่งย่อยสลายเสษอาหารได้ ทำให้ขยะที่จะทำการกำจัด ไม่มีขยะเศษอาหารปนอยู่ ไม่เกิดกลิ่นเหม็น ทำให้การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การแยกขยะที่ต้นทางสามารถทำได้ดีกว่าการแยกขยะที่ปลายทาง
5.ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูงอย่าง อาคารพาณิชย์ ตึกแถว หอพัก คอนโดมิเนียม ผู้ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ไม่สามารถกำจัดขยะด้วยตัวเองได้ เนื่องจากข้อกำจัดในพื้นที่ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารประเภทนี้ ทำได้เพียงแยกขยะระหว่างเศษอาหาร ขยะทั่วไปที่สามารถรีไซเคิลได้และไม่สามารถรีไซเคิลได้ ทางเทศบาลหากสามารถกำจัดแบบแยกประเภทได้ มีการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร อาจจะทำการเก็บขยะแบบแยกประเภท เช่น แยกสีถุง ขยะที่ย่อยสลายได้แยกถุงเป็นอีกสีหนึ่งเพื่อเทศบาลจะได้แยกจัดเก็บเพื่อไปทำปุ๋ยต่อไป ส่วนขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ จะแยกเก็บเป็นถุงดำเพื่อนำไปคัดแยกหรือกำจัดต่อไป
6.การเริ่มทำการกำจัดแบบคัดแยก อาจะเริ่มโดยจำกัดพื้นที่ก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเริ่มต้นประชาสัมพันธ์ อย่างเช่น การขอความร่วมมือกับ ตลาดสดแห่งใดแห่งหนึ่งก่อนเพื่อขอขยะที่คัดแยกเฉพาะเศษผักเศษอาหารเพื่อใช้ในการทำปุ๋ย โรงแรมแห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้มีการคัดแยกขยะ ให้ห้องพักทุกห้องมีถึงขยะแยกประเภทระหว่างขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไปเพื่อรอกำจัด หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งที่จะมีการเก็บขยะแบบแยกประเภท เกษตรกรกลุ่มหนึ่งพื่อทำปุ๋ยหมัก เมื่อเริ่มต้นในจุดเล็กๆสำเร็จย่อมจะเป็นตัวอย่างในการดูงานให้กับพื้นที่อื่นๆที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการต่อไป
1.ประชาชนยังยึดติดกับการแก้ไขปัญหาขยะแบบเดิมๆ สถานที่มีกลิ่นเหม็น สกปรกไม่น่าชวนมอง จนทำให้ไม่มีใครยอมที่จะให้มีการสร้างโรงกำจัดขยะในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตนเองอยู่อาศัย เนื่องจากว่าก็ยังไม่มีที่ใดในประเทศไทย มีระบบจัดการขยะที่ประสบความสำเร็จ สะอาด สถานที่น่าชวนมองอย่างที่ไปดูงานที่ต่างประเทศ
2.เทศบาลไม่มีแหล่งกำจัดขยะเนื่องจากสาเหตุข้อแรก เพราะไม่รู้ว่าจะชี้แจงยังไงให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจ จึงต้องนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ห่างไกล นอกพื้นที่ ในป่า สถานที่รกร้าง สร้างปัญหาให้กับชุมชนในพื้นที่นั้นๆตามมา
3.ทุกคนยังมองไม่เห็นคุณค่าของขยะเพราะว่ามีมูลค่าเล็กน้อย ไม่ทราบว่าขยะบางชนิดมีมูลค่า เมื่อแยกขยะแล้วจะไปขายที่ไหนหรือมีวิธีใดบ้างที่จะจัดการขยะได้โดยเปลี่ยนให้เป็นรายได้เข้ามา
4.เนื่องจากทางภาครัฐยังไม่มีสถานที่และวีธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาขยะ มีการกำจัดขยะที่สามารถรองรับการแยกขยะได้ จึงทำให้โครงการรณรงค์ให้ประชนคัดแยกขยะ ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพียงแค่ไฟไหม้ฟางในช่วงต้นๆ แต่เมื่อประชาชนคัดแยกขยะแล้วกลับไม่มีการเก็บขยะแบบแยก เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะเศษอาหารถูกเก็บนำไปปนกับขยะทั่วไปเช่นเดิม
5.การหาวิธีการจัดการขยะยังไม่ลงลึกเพียงพอในการแก้ไขปัญหาขยะตามสถุานที่อยู่อาศัยที่ต่างๆกัน บ้านเรือน ตลาดสด อาคารพาณิชย์ โรงเรียน อาคารสูงอย่างโรงแรมและคอนโดมิเนียม ชมชนชนบท บางที่สามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง บางที่ทำได้เพียงแยกขยะ ทำให้แต่ละที่จะต้องมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน เราสงเสริมให้ประชาชนทำปุ๋ยจากขยะ แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูง อาคารพาณิชย์ ไม่รู้ว่าจะเอาปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเพราะไม่ได้มีพื้นที่ปลูกพืช นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นอย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงการใช้วิธีจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสมกับสถานที่
6.เทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะ สามารถกำจัดขยะได้เฉพาะขยะแยกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำปุ๋ยหมักจากขยะ การทำก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร การนำขยะมาเผาเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่ขยะที่เข้าสู่กระบวนการกำจัดยังไม่ได้แยกอย่างสมบูรณ์ ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวประสบปัญหาในการดำเนินการ
7.การขัดผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ฝังกลบขยะ โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบกำจัดขยะจึงถูกระงับ ถูกต่อต้านจากชุมชนโดยมีผู้มีอิทธิผลที่เสียผลประโยชน์หนุนอยู่ภายหลัง
จากสาเหตุหลักๆเหล่นนี้ทำให้การแก้ไขปัญหาขยะ ยังคงไม่มีความคืบหน้าและก่อให้เกิดปัญหาหนักขึ้นทุกวัน ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน แนวทาง วิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ที่มีสถานที่แตกต่างกัน ใช้ลักษณะเด่นของแต่ละพื้นที่มาแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ อย่างเช่น
1.ในชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมือง มีพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เป็นชุมชนที่มีความต้องการปุ๋ยหมักจากขยะเพราะต้องใช้ในการเพาะปลูก การใช้ปุ๋ยหมักจากขยะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งน่าจะมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อทำโครงการปุ๋ยหมักจากขยะสด ขยะเศษผักเศษอาหาร เพื่อความยั่งยืนในการทำการเกษตร และเป็นการช่วยภาครัฐในการแก้ไขปัญหาขยะ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ
2.ในชุมชนเมืองใหญ่ มีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดสด ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตร เป็นแหล่งผลิตขยะที่สามารถย่อยสลายได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะที่ว่านี้เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการนำมาผลิตปุ๋ยหมักเนื่องจากมีการเจือปนของขยะชนิดอื่นเช่นพลาสติก กระดาษ ขวดแก้ว น้อย หากมีการทำข้อตกลงร่วมในการส่งขยะที่คัดแยกแต่เศษผักเศษอาหารให้กับกลุ่มเกษตรกร ก็จะสามารถทำขยะที่เคยเป็นปัญหา เป็นประโยชน์ขึ้นมาได้
3.การจัดพื้นที่ให้มีการรับซื้อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ประจำเดือนตามชุมชนต่างๆ โดยขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าของเก่า เริ่มต้นโดยการะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงราคาที่รับซื้อของขยะชนิดต่างๆ สถานที่รับซื้อ และวันเวลาที่จะมารับซื้อเป็นประจำ วีธีการนี้จะทำให้ผู้ค้าของเก่ามีผู้ใช้บริการมากขึ้น มีปริมาณขยะที่จะนำส่งโรงงานรีไซเคิลได้มากขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้นจากการแยกขยะและเก็บสะสมขยะเพื่อจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในภาวะที่ข้าวของทุกอย่างมีราคาแพง
4.บ้านที่อยู่อาศัย มีบริเวณบ้านที่เป็นสวน สามารถแยกขยะเศษอาหารกำจัดเองได้ โดยทำบ่อฝั่งย่อยสลายเสษอาหารได้ ทำให้ขยะที่จะทำการกำจัด ไม่มีขยะเศษอาหารปนอยู่ ไม่เกิดกลิ่นเหม็น ทำให้การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การแยกขยะที่ต้นทางสามารถทำได้ดีกว่าการแยกขยะที่ปลายทาง
5.ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูงอย่าง อาคารพาณิชย์ ตึกแถว หอพัก คอนโดมิเนียม ผู้ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ไม่สามารถกำจัดขยะด้วยตัวเองได้ เนื่องจากข้อกำจัดในพื้นที่ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารประเภทนี้ ทำได้เพียงแยกขยะระหว่างเศษอาหาร ขยะทั่วไปที่สามารถรีไซเคิลได้และไม่สามารถรีไซเคิลได้ ทางเทศบาลหากสามารถกำจัดแบบแยกประเภทได้ มีการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร อาจจะทำการเก็บขยะแบบแยกประเภท เช่น แยกสีถุง ขยะที่ย่อยสลายได้แยกถุงเป็นอีกสีหนึ่งเพื่อเทศบาลจะได้แยกจัดเก็บเพื่อไปทำปุ๋ยต่อไป ส่วนขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ จะแยกเก็บเป็นถุงดำเพื่อนำไปคัดแยกหรือกำจัดต่อไป
6.การเริ่มทำการกำจัดแบบคัดแยก อาจะเริ่มโดยจำกัดพื้นที่ก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเริ่มต้นประชาสัมพันธ์ อย่างเช่น การขอความร่วมมือกับ ตลาดสดแห่งใดแห่งหนึ่งก่อนเพื่อขอขยะที่คัดแยกเฉพาะเศษผักเศษอาหารเพื่อใช้ในการทำปุ๋ย โรงแรมแห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้มีการคัดแยกขยะ ให้ห้องพักทุกห้องมีถึงขยะแยกประเภทระหว่างขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไปเพื่อรอกำจัด หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งที่จะมีการเก็บขยะแบบแยกประเภท เกษตรกรกลุ่มหนึ่งพื่อทำปุ๋ยหมัก เมื่อเริ่มต้นในจุดเล็กๆสำเร็จย่อมจะเป็นตัวอย่างในการดูงานให้กับพื้นที่อื่นๆที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการต่อไป
วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555
ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน
ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า ไม่รู้จักปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ปีที่ผ่านมา ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดกว่าหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคกลางประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนภาคใต้ก็เจอกับพายุที่รุนแรงขึ้น ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาลึกมากขึ้น คงไม่ต้องย้ำกันอีกรอบ ตามที่วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์แห่งนิตยสารคดี บอกว่า ภาวะโลกร้อนได้มาเคาะประตูบ้านของเราแล้ว... เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า ๒,๕๐๐ คน จาก ๑๓๐ ประเทศ ได้พบข้อสรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุของปัญหาโลกร้อน นั้น ร้อยละ ๙๐ มาจากการที่ มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนความร้อนจากพื้นโลกไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงไปทั่วโลก ดังนั้นภารกิจที่เหล่ามนุษยชาติต้องรับผิดชอบร่วมกันก็คือ ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงและปล่อยก๊าซคารบอร์ไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด เพื่อต่อเวลาให้กับโลกใบนี้ให้ยาวยิ่งขึ้น ถุงพลาสติกที่เราใช้รองรับสินและอาหาร ผลิตจากเม็ดพลาสติก จากอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ที่ใช้เพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อนำมาใช้จะมีอายุการใช้งานสั้น และส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงขนาดเล็กและบางถุงที่ผ่านการใช้งานแล้วและถูกนำไปทิ้งจะเป็นภาระในการเก็บขน และจัดการเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบาง และมีปริมาณมากปะปนกับมูลฝอยประเภทอื่นๆ จะทำให้การย่อยสลายมูลฝอย เป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น ถ้าถามว่า “ลดใช้ถุงพลาสติกเกี่ยวอะไรกับโลกร้อน” และเราคนเดียว ลด หรือ ไม่ใช้ ถุงพลาสติก จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้? คำตอบคือ ได้ ต้นเหตุสำคัญคือ ร้อยละ 90 มาจากมนุษย์ สร้างกิจกรรมเผาผลาญเชื้อเพลิง ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ – CO2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินความสามารถของโลกที่จะสะท้อนความร้อนจากพื้นโลกออกไปนอกโลกได้ทัน ผลคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่เป็นผลกระทบระดับมหันตภัยทั้งสิ้น เช่น • พายุหมุนที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น • ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก • สภาพอากาศที่แปรปรวน จนยากจะคาดเดา • ฤดูกาล และวงจรการเกษตรเปลี่ยนแปลง • โรคระบาดใหม่ๆ เป็นต้น ความเกี่ยวโยงระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับโลกร้อนคือ ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี ทั้งนี้ ปัจจุบัน (กันยายน 2550 ) กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปี |
ลดใช้ถุงพลาสติก ลดภาวะโลกร้อน
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์
ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ โดยในแต่ละปีจะมีมากถึง 20-50 ล้านตัน อาจเป็นเรื่องยากที่จะนึกภาพปริมาณขยะที่มากมายมหาศาลเช่นนี้ ให้ลองนึกภาพว่าถ้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีทั้งหมดถูกนำใส่ตู้คอนเทนเนอร์บนขบวนรถไฟ จะกลายขบวนรถไฟที่ยาวเท่าหนึ่งรอบโลกของเรา! ในปัจจุบัน ขยะอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 5 ของขยะแข็งในเขตเทศบาลทั่วโลก เทียบเท่ากับปริมาณขยะวัสดุห่อหุ้มที่เป็นพลาสติกทั้งหมด แต่มีอันตรายมากกว่ามาก และไม่ใช่ประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้นที่เป็นต้นตอของขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ในเอเชียเองก็มีการทิ้งขยะแบบนีประมาณ 12 ล้านตันต่อปี
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะแข็งในเขตเทศบาลที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และ พริ้นเตอร์บ่อยครั้งกว่าที่เคยเป็นมา โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดเพราะมีการเปลี่ยนเครื่องใหม่บ่อยที่สุด ในยุโรปขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าขยะอย่างอื่นถึง 3 เท่า และคาดการณ์กันว่าประเทศกำลังพัฒนาจะผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอีกถึง 3 เท่าภายใน 5 ปีข้างหน้า
- คุณรู้ไหมว่า...
- อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของคอมพิวเตอร์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงจาก 6 ปีในพ.ศ. 2540 เป็น 2 ปีในพ.ศ. 2548
- ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โทรศัพท์มือถือมีวงจรชีวิตสั้นกว่า 2 ปี
- ในพ.ศ. 2547 มีการขายคอมพิวเตอร์ 183 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากในพ.ศ. 2546
- ในพ.ศ. 2547 มีการขายโทรศัพท์มือถือ 674 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 จากพ.ศ. 2546
- ภายในพ.ศ. 2553 จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ถึง 716 ล้านเครื่อง โดยจะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ 178 ล้านคนในจีน และ 80 ล้านคนในอินเดีย
คีย์บอร์ดจำนวนมากถูกนำมากองไว้เพื่อรอการแยกชิ้นส่วน เป็นไปได้สูงว่าคีย์บอร์ดเหล่านี้ไม่เป็นที่ต้องการในยุโรป สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น จึงถูกขนมาทิ้งที่จีนเพราะค่าใช้จ่ายในการกำจัดถูกกว่าในประเทศของตนมาก
สารพัดโรคร้ายจาก ภัยขยะ
ทุกวันนี้ขยะจากบ้านเรือนจึงมีแต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเราไม่สามารถกำจัดได้หมด ขยะเหล่านี้ก็จะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ ได้นายแพทย์สมิง เก่าเจริญ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายเรื่องนี้ให้ฟังว่า ในแต่ละวันคนเราจึงมีโอกาสที่จะได้รับพิษภัยจากขยะอย่างไม่รู้ตัว ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอันตรายที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงมาก อาจเกิดขึ้นโดยทันทีหรือสะสมในระยะยาว
อย่างครอบครัวน้องแก้ว (นามสมมติ) หญิงสาววัย 18 ปี หนึ่งในชาวชุมชนกองขยะหนองแขม ที่เกิดและเติบโต ณ ที่แห่งนี้ เธอมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังตั้งแต่ยังเล็ก น้องแก้วเล่าไปพลางเกาแขนทั้งสองข้างไปว่า หากวันใดที่มีการเผาขยะ ตามตัวและใบหน้าของเธอจะมีผื่นแดงขึ้นไปทั่ว แล้วจึงกลายเป็นตุ่มน้ำใส พอเริ่มแตกจากการเกาก็จะเป็นแผล ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าแผลนั้นจะตกสะเก็ด พอเริ่มมีการเผาขยะใหม่ก็เป็นอีกครั้ง จึงทำให้ไม่หายเสียที
ในเรื่องนี้ นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เล่าเสริมให้ฟังว่า อาการดังกล่าวของน้องแก้ว เกิดขึ้นจากการสัมผัสฝุ่นละอองและควันไฟจากการเผาขยะ ทั้งนี้ยังรวมถึงฝุ่นละอองจากเศษขยะโดยตรงได้อีก โดยถือเป็นการเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง นอกจากนั้น นายแพทย์โสภณยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า อันตรายที่เกิดขึ้นจากขยะเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ดังนี้คือ
1.ทางผิวหนัง อย่างกรณีของน้องแก้วแล้ว ยังรวมถึงการสัมผัสหรือจับต้องโดยตรง กับสารประกอบในผลิตภัณฑ์หรือขยะมีพิษบางตัว เช่น ยาฆ่าแมลง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ทำให้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง กระแสเลือด และเข้าสู่ร่างกายไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
2.ทางการหายใจ จากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง ก๊าซหรือไอสารพิษจากขยะอันตรายบางชนิด เช่น สี ตัวทำละลาย น้ำมันรถยนต์ เมื่อเราหายใจเข้าไปก็จะเข้าไปสะสมอยู่บริเวณปอด แล้วจึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจหรือทำลายอวัยวะภายในได้
3.ทางเดินอาหาร โดยการรับประทานเข้าไปทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การได้รับสารพิษปนเปื้อนจากภาชนะใส่อาหารหรือจากมือ รวมถึงสารพิษที่สะสมในรูปของห่วงโซ่อาหารในพืชผักและเนื้อสัตว์ ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหาร เช่น ยารักษาโรคที่หมดอายุแล้ว หรือสารเคมีที่ระบุว่ามีอันตราย
โรคร้ายที่มากับ "ภัยขยะ"
ผลการสำรวจของชีวจิตโพลโครงการ 6 ที่ระบุว่า คนในสังคมไทยรู้ว่าขยะที่ทิ้งก่อให้เกิดโรค แต่ไม่ทราบว่าขยะนั้นส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายถึงร้อยละ 92.3 โดยโรคภัยที่มาจากขยะ4 อันดับแรก ได้แก่ ท้องร่วงท้องเสีย โรคภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียน และปวดศีรษะ ตามลำดับ
ถึงแม้โรคที่เกิดจากขยะโดยตรงนั้น จะยังไม่ปรากฎการณ์ให้เห็นอย่างแน่ชัดนักในสายตาคนทั่วไป แต่จากข้อมูลการวิจัยที่ผ่านมา มีหลักฐานยืนยันว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงคือ กลุ่มคนผู้รับซื้อของเก่า ซาเล้ง ผู้คุ้ยขยะ คนเก็บขยะ และประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง
จากงานวิจัยของศิริศักดิ์ สุนทรไชย และวรรณวดี พูลพอกสิน ในปี 2548 ชี้ถึงผลกระทบทางสุขภาพของกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะใน 6 จังหวัด รวม 276 คน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สรุปให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีผลการตรวจสุขภาพไม่ปกติ และกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีปริมาณแมงกานีสสูง รองลงมาคือ สารหนู ตะกั่ว และโครเมียม
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของ คณะวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยโตรอนโต ที่สำรวจคนเก็บขยะชาวกัมพูชา ในปี 2531 และคนเก็บขยะชาวเวียดนามในปี 2543 พบว่า คนเก็บขยะโดยส่วนมากแล้ว มีอาการติดเชื้อและเป็นโรคเจ็บป่วยจากขยะมูลฝอยถึง 14 ชนิด ด้วยกัน เช่น อาการเจ็บคอ เป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนัง โรคมาลาเรีย โรคระบาดหลากหลายประเภท โรคหัวใจ โรคทางสมอง และอาการท้องร่วง เป็นต้น
การวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่คนเก็บขยะเท่านั้นที่ติดเชื้อโรคจากขยะ แต่ยังคงรวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีสภาพชีวิตความเป็น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรก มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
อันตรายจากเจ้าภัยขยะนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพของเรา จนก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้างนั้น ชีวจิตรวบรวมคำตอบไว้ดังนี้ค่ะ
1.โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ไวรัส รา แบคทีเรียในขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู ยุง แมลงสาบ และแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น ได้แก่ เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และโรคบิด โดยเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายคนเรา จากการกินอาหารและน้ำ หรือการจับต้องด้วยมือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนเราได้โดยง่าย
2.โรคจากการติดเชื้อ อันตรายจากขยะติดเชื้อโรค เช่น ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัย กระดาษทิชชูของคนที่เป็นวัณโรคใช้ขับเสมหะหรือน้ำลาย สำลีเช็ดแผล พลาสเตอร์ปิดแผลที่ใช้แล้ว อาหารเน่าบูด และซากสัตว์ ซึ่งอาจมีเชื้อไข้หวัดนก รวมถึงอันตรายจากอุบัติเหตุ ซึ่งคนในชุมชนแห่งนี้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับกองขยะมักเจออยู่บ่อย ๆ ได้แก่ ขยะที่เป็นวัตถุมีคม เช่น ไม้แหลม แก้วแตก และโลหะมีคม ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อบาดทะยัก หรือจากวัสดุเปื้อนเลือด เช่น เข็มฉีดยาใช้แล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์ได้
3.โรคภูมิแพ้ เกิดได้จากการสูดดมฝุ่นละอองที่ปลิวฟุ้งกระจายมาจากเศษขยะชนิดต่าง ๆ เช่น เศษกระดาษ ฝุ่นฝ้าย ผงหมึกพิมพ์จากเศษกระดาษ ตลอดจนของเสียที่เป็นอันตรายบางชนิดที่ระเหยหรือปล่อยสารต่าง ๆ ออกมาเป็นฝุ่นผสมอยู่ในอากาศ นอกจากนี้ การเผาขยะ อาจทำให้มีสารอันตรายปะปนอยู่ในอากาศ ในรูปของไอหรือฝุ่นของสารเคมีต่าง ๆ ได้เช่นกัน
4.ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน เกิดจากกลิ่นเน่าเหม็น ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ ไม่มีการฝังกลบหรือจากการเก็บขยะไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซมีเทนหรือก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนได้เช่นกัน
5.โรคมะเร็ง เนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจากการสูดดมอากาศเสียของการเผาขยะ ซึ่งเกิดจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารพิษปนเปื้อนในอากาศ เช่น สารไดออกซินและฟิวแรนระหว่างการเผา ซึ่งสารทั้งสองนี้เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งและทำลายการทำงานของตับได้ นอกจากนี้ ยังมีอันตรายจากสารเคมีต่าง ๆ ของขยะพิษบางชนิด เช่น สารหนูในแบตเตอรี่มือถือ ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอดได้ หรือ สารเบริลเลียม ที่ใช้ในแผงวงจรหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างมือถือ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด โดยผู้ที่ได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Beryllicosis ซึ่งมีผลกับปอด และหากสัมผัสสารนี้จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังอย่างรุนแรง
ทางออกสำหรับเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เพียงการหาพื้นที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ หรือโรงงานเผาขยะรุ่นใหม่เท่านั้น หากในระยะยาวแล้ว "การหาวิธีลดปริมาณขยะ" โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งของเหล่านี้อย่างรู้คุณค่า และมองว่าขยะทุกชิ้นก็คือทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลกเรา
อย่างครอบครัวน้องแก้ว (นามสมมติ) หญิงสาววัย 18 ปี หนึ่งในชาวชุมชนกองขยะหนองแขม ที่เกิดและเติบโต ณ ที่แห่งนี้ เธอมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังตั้งแต่ยังเล็ก น้องแก้วเล่าไปพลางเกาแขนทั้งสองข้างไปว่า หากวันใดที่มีการเผาขยะ ตามตัวและใบหน้าของเธอจะมีผื่นแดงขึ้นไปทั่ว แล้วจึงกลายเป็นตุ่มน้ำใส พอเริ่มแตกจากการเกาก็จะเป็นแผล ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าแผลนั้นจะตกสะเก็ด พอเริ่มมีการเผาขยะใหม่ก็เป็นอีกครั้ง จึงทำให้ไม่หายเสียที
ในเรื่องนี้ นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เล่าเสริมให้ฟังว่า อาการดังกล่าวของน้องแก้ว เกิดขึ้นจากการสัมผัสฝุ่นละอองและควันไฟจากการเผาขยะ ทั้งนี้ยังรวมถึงฝุ่นละอองจากเศษขยะโดยตรงได้อีก โดยถือเป็นการเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง นอกจากนั้น นายแพทย์โสภณยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า อันตรายที่เกิดขึ้นจากขยะเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ดังนี้คือ
1.ทางผิวหนัง อย่างกรณีของน้องแก้วแล้ว ยังรวมถึงการสัมผัสหรือจับต้องโดยตรง กับสารประกอบในผลิตภัณฑ์หรือขยะมีพิษบางตัว เช่น ยาฆ่าแมลง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ทำให้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง กระแสเลือด และเข้าสู่ร่างกายไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
2.ทางการหายใจ จากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง ก๊าซหรือไอสารพิษจากขยะอันตรายบางชนิด เช่น สี ตัวทำละลาย น้ำมันรถยนต์ เมื่อเราหายใจเข้าไปก็จะเข้าไปสะสมอยู่บริเวณปอด แล้วจึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจหรือทำลายอวัยวะภายในได้
3.ทางเดินอาหาร โดยการรับประทานเข้าไปทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การได้รับสารพิษปนเปื้อนจากภาชนะใส่อาหารหรือจากมือ รวมถึงสารพิษที่สะสมในรูปของห่วงโซ่อาหารในพืชผักและเนื้อสัตว์ ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหาร เช่น ยารักษาโรคที่หมดอายุแล้ว หรือสารเคมีที่ระบุว่ามีอันตราย
โรคร้ายที่มากับ "ภัยขยะ"
ผลการสำรวจของชีวจิตโพลโครงการ 6 ที่ระบุว่า คนในสังคมไทยรู้ว่าขยะที่ทิ้งก่อให้เกิดโรค แต่ไม่ทราบว่าขยะนั้นส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายถึงร้อยละ 92.3 โดยโรคภัยที่มาจากขยะ4 อันดับแรก ได้แก่ ท้องร่วงท้องเสีย โรคภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียน และปวดศีรษะ ตามลำดับ
ถึงแม้โรคที่เกิดจากขยะโดยตรงนั้น จะยังไม่ปรากฎการณ์ให้เห็นอย่างแน่ชัดนักในสายตาคนทั่วไป แต่จากข้อมูลการวิจัยที่ผ่านมา มีหลักฐานยืนยันว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงคือ กลุ่มคนผู้รับซื้อของเก่า ซาเล้ง ผู้คุ้ยขยะ คนเก็บขยะ และประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง
จากงานวิจัยของศิริศักดิ์ สุนทรไชย และวรรณวดี พูลพอกสิน ในปี 2548 ชี้ถึงผลกระทบทางสุขภาพของกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะใน 6 จังหวัด รวม 276 คน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สรุปให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีผลการตรวจสุขภาพไม่ปกติ และกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีปริมาณแมงกานีสสูง รองลงมาคือ สารหนู ตะกั่ว และโครเมียม
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของ คณะวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยโตรอนโต ที่สำรวจคนเก็บขยะชาวกัมพูชา ในปี 2531 และคนเก็บขยะชาวเวียดนามในปี 2543 พบว่า คนเก็บขยะโดยส่วนมากแล้ว มีอาการติดเชื้อและเป็นโรคเจ็บป่วยจากขยะมูลฝอยถึง 14 ชนิด ด้วยกัน เช่น อาการเจ็บคอ เป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนัง โรคมาลาเรีย โรคระบาดหลากหลายประเภท โรคหัวใจ โรคทางสมอง และอาการท้องร่วง เป็นต้น
การวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่คนเก็บขยะเท่านั้นที่ติดเชื้อโรคจากขยะ แต่ยังคงรวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีสภาพชีวิตความเป็น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรก มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
อันตรายจากเจ้าภัยขยะนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพของเรา จนก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้างนั้น ชีวจิตรวบรวมคำตอบไว้ดังนี้ค่ะ
1.โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ไวรัส รา แบคทีเรียในขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู ยุง แมลงสาบ และแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น ได้แก่ เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และโรคบิด โดยเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายคนเรา จากการกินอาหารและน้ำ หรือการจับต้องด้วยมือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนเราได้โดยง่าย
2.โรคจากการติดเชื้อ อันตรายจากขยะติดเชื้อโรค เช่น ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัย กระดาษทิชชูของคนที่เป็นวัณโรคใช้ขับเสมหะหรือน้ำลาย สำลีเช็ดแผล พลาสเตอร์ปิดแผลที่ใช้แล้ว อาหารเน่าบูด และซากสัตว์ ซึ่งอาจมีเชื้อไข้หวัดนก รวมถึงอันตรายจากอุบัติเหตุ ซึ่งคนในชุมชนแห่งนี้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับกองขยะมักเจออยู่บ่อย ๆ ได้แก่ ขยะที่เป็นวัตถุมีคม เช่น ไม้แหลม แก้วแตก และโลหะมีคม ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อบาดทะยัก หรือจากวัสดุเปื้อนเลือด เช่น เข็มฉีดยาใช้แล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์ได้
3.โรคภูมิแพ้ เกิดได้จากการสูดดมฝุ่นละอองที่ปลิวฟุ้งกระจายมาจากเศษขยะชนิดต่าง ๆ เช่น เศษกระดาษ ฝุ่นฝ้าย ผงหมึกพิมพ์จากเศษกระดาษ ตลอดจนของเสียที่เป็นอันตรายบางชนิดที่ระเหยหรือปล่อยสารต่าง ๆ ออกมาเป็นฝุ่นผสมอยู่ในอากาศ นอกจากนี้ การเผาขยะ อาจทำให้มีสารอันตรายปะปนอยู่ในอากาศ ในรูปของไอหรือฝุ่นของสารเคมีต่าง ๆ ได้เช่นกัน
4.ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน เกิดจากกลิ่นเน่าเหม็น ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ ไม่มีการฝังกลบหรือจากการเก็บขยะไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซมีเทนหรือก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนได้เช่นกัน
5.โรคมะเร็ง เนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจากการสูดดมอากาศเสียของการเผาขยะ ซึ่งเกิดจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารพิษปนเปื้อนในอากาศ เช่น สารไดออกซินและฟิวแรนระหว่างการเผา ซึ่งสารทั้งสองนี้เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งและทำลายการทำงานของตับได้ นอกจากนี้ ยังมีอันตรายจากสารเคมีต่าง ๆ ของขยะพิษบางชนิด เช่น สารหนูในแบตเตอรี่มือถือ ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอดได้ หรือ สารเบริลเลียม ที่ใช้ในแผงวงจรหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างมือถือ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด โดยผู้ที่ได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Beryllicosis ซึ่งมีผลกับปอด และหากสัมผัสสารนี้จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังอย่างรุนแรง
ทางออกสำหรับเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เพียงการหาพื้นที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ หรือโรงงานเผาขยะรุ่นใหม่เท่านั้น หากในระยะยาวแล้ว "การหาวิธีลดปริมาณขยะ" โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งของเหล่านี้อย่างรู้คุณค่า และมองว่าขยะทุกชิ้นก็คือทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลกเรา
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555
วิธีการแยกขยะ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าขยะหลังจากนำมารีไซเคิลได้จะสามารถนำไปทำเป็นอะไรได้บ้าง
1. ขยะประเภท กระป๋องอลูมิเนียม และกระป๋องเหล็ก
สามารถนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้าง ตู้เย็น เครื่องซักผ้าเป็นต้น
2. ขยะประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ กล่องนม
สามารถนำไปทำเป็นกล่องกระดาษที่มีความแข็งแรง กระดาษทิชชู เป็นตัน
3. เสื้อผ้า
เป็นเสื้อผ้ามือสอง
3. ขวดแก้วใส หรือสีชา
นำไปผลิตขวดใหม่ได้
4. ขวดแก้วสีอื่นๆ
นำไปผลิตเป็นพื้นกระเบื้อง
5. ขวดน้ำพลาสติก
นำไปผลิตเป็นผ้าพลาสติกได้
6. พลาสติกต่างๆ
นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
7. พลาสติกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์
นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
การแยกขยะเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนแต่ต้องทำความเข้าใจระหว่างผู้ทิ้งขยะกับผู้เก็บขยะด้วย
1. การเก็บขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะเก็บเฉพาะขยะที่สะอาด ส่วนขยะที่สกปรกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ควรจะแยกสีถุงบรรจุขยะให้ชัดเจน
2. ขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นไม่ควรทิ้งขยะที่จะนำมารีไซเคิลได้ปะปนกัน แยกถุงทิ้งและแสดงหน้าถุงบรรจุให้ชัดเจนว่าเป็นขยะแบบไหน
3. ควรจะแยกวันเก็บขยะให้ชัดเจนว่าวันไหนจะเก็บขยะประเภทใด
วิธีการแยกขยะ
1. กระป๋อง
กระป๋องควรจะแยกประเภทว่าเป็นอลูมิเนียมหรือว่าเหล็กและควรล้างทำความสะอาดภายในให้เรียบร้อยก่อน
2. กระดาษ
กระดาษจะแยกเป็น 4 ประเภทหลักๆคือ
2.1 กระดาษหนังสือพิมพ์และใบปลิว
2.2 นิตยสาร
2.3 กล่องกระดาษ ควรแยกเอาส่วนที่เป็นโลหะออกให้หมด เช่น แม๊กเย็บกล่อง
2.4 กล่องนม ควรคลี่ออกและล้างให้สะอาดก่อนทิ้ง
3. เสื้อผ้า
เสื้อผ้าที่จะนำไปรีไซเคิล ควรเป็นเสื้อผ้าที่ไม่สกปรก แค่มีรอยขาดนิดหน่อยหรือเป็นรู กระดุมหลุดเป็นตัน
4. ขวด
ขวดควรแยกเป็นขวดใส ขวดสีชา และขวดสีอื่นๆ และควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาส่ง ควรแยกฝาที่เป็นโลหะทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้ ฝาพลาสติกทิ้งไปกับขวดพลาสติก ส่วนขวดที่แตกแล้วทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้
5. พลาสติกต่างๆ
ขวดพลาสติกควรจะล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง พลาสติกบรรจุภัณฑ์ เฉพาะสีขาวควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง
ขยะอื่นๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการก่อนนำกลับมาใช้ และที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้
1. ขยะที่สามารถเผาได้
เป็นประเภทขยะสด ขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หนังสัตว์ ผ้า แต่ควรแยกส่วนที่เป็นโลหะออกเสียก่อน ขยะสด ควรรีดน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดและพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกแล้วนำมาทิ้ง ผ้าอ้อมที่ใช้แล้วควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนนำมาทิ้ง
2. ขยะที่ไม่สามารถเผาได้
แก้ว โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตารีด หม้อตัมน้ำ ทิ่ปิ้งขนมปัง ที่เป่าผม โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า วิทยุ เป็นตัน
ข้อควรระวัง แก้ว มีด ของมีคมควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้ง กระป๋องสเปรย์ควรเจาะรู 2 รูก่อนนำมาทิ้ง
3. ขยะที่มีขนาดใหญ่
เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเสียง จักรยานยนต์เป็นตัน
4. ขยะเป็นพิษ
ถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟ้า ควรใส่ถุงพลาสติกก่อนนำมาทิ้ง ถ้าหลอดแตกให้ทิ้งเป็นขยะเผาไม่ได้
ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ
ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ
1. สารปรอท
หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย
หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ
กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ
2. สารตะกั่ว
แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง
ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง
ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง
3. สารแมงกานีส
ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ
เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา สมองสับสน สมองอักเสบ
4. สารแคดเมียม
ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก
5. สารฟอสฟอรัส
ยาเบื่อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ
6. สารเคมี
สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ
ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)